วันอาทิตย์ที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

สัปดาห์ที่ 17

งานที่ได้รับมอบหมาย -คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งถอดเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการติดตั้งเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการเปลี่ยนเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลสร้างคำสั่ง ใส่สาย -คีย์ข้อมูลสร้างคำสั่ง ต่อกลับเครื่องวัดฯ


ปัญหาและอุปสรรค์ ไม่พบปัญหาใดๆ ในการทำงาน

สัปดาห์ที่ 15

งานที่ได้รับมอบหมาย -คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งถอดเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการติดตั้งเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการเปลี่ยนเครื่องวัดฯ
- ตรวจสอบสถานะการตัดไฟ


ปัญหาและอุปสรรค์ ไม่พบปัญหาใดๆ ในการทำงาน

สัปดาห์ที่ 14

งานที่ได้รับมอบหมาย -คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งถอดเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการติดตั้งเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการเปลี่ยนเครื่องวัดฯ
- แยกเอกสารใบสั่งงานเครื่องวัดฯ ขอใช้ไฟใหม่ ระหว่างสำเนากับต้นฉบับ


ปัญหาและอุปสรรค์ ไม่พบปัญหาใดๆ ในการทำงาน

สัปดาห์ที่ 13

งานที่ได้รับมอบหมาย -คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งถอดเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการติดตั้งเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการเปลี่ยนเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งยกเลิกการเนินการเปลี่ยนเครื่องวัดฯ

ปัญและอุปสรรค์ ไม่พบปัญหาใดๆ ในการทำงาน

สัปดาห์ที่ 12

งานที่ได้รับมอบหมาย -คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งถอดเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการติดตั้งเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการดำเนินงานการแก้ไขอุปกรณ์เครื่องวัดฯ
- ค้นหาหมายเลข MEA ในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และนำมาเขียนลงบคำสั่งติดตั้งเครื่องวัดฯ


ปัญและอุปสรรค์ การค้นหาหมายเลข MEA ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะถ้าคีย์ตัวเลขผิด อาจทำให้ช่างติดตั้งเครื่องวัดฯผิดพลาดได้

สัปดาห์ที่ 11

งานที่ได้รับมอบหมาย -คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งถอดเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการติดตั้งเครื่องวัดฯ
- คีย์หมายเลขเครื่องวัฯเพื่อตรวจสอบสถานะการตัดไฟ


ปัญและอุปสรรค์ ไม่พบปัญหาใดๆ ในการทำงาน

วันเสาร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2553

งานสัปดาห์ที่ 10

งานที่ได้รับมอบหมาย -คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งถอดเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการติดตั้งเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการเปลี่ยนเครื่องวัดฯ

ปัญและอุปสรรค์ ไม่พบปัญหาใดๆ ในการทำงาน

สัปดาห์ที่ 9

งานที่ได้รับมอบหมาย -คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งถอดเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการติดตั้งเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการเปลี่ยนเครื่องวัดฯ

ปัญหาและอุปสรรค์ ไม่พบปัญหาใดๆ ในการทำงาน

สัปดาห์ที่ 8

งานที่ได้รับมอบหมาย -คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งถอดเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการติดตั้งเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการเปลี่ยนเครื่องวัดฯ

ปัญหาและอุสรรค ไม่พบปัญหาและอุปสรรค์ใดๆ ในการทำงาน

สัปดาห์ที่ 7

งานที่ได้รับมอบหมาย -คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลคำสั่งถอดเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกผลการติดตั้งเครื่องวัดฯ

ปัญหาและอุปสรรค์ ไม่พบปัญหาและอุปสรรค์ใดๆในการทำงาน

วันศุกร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 6

งานที่ได้รับมอบหมาย - คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ถอดเครื่องวัดฯ
- ตรวจสอบและเช็คหมายเลขเครื่องวัดฯ


ปัญหาและอุปสรรค์ ไม่พอปัญหาและอุปสรรค์ใดๆ เนื่องจากทำเป็นประจำ จึงทำได้คล่องขึ้น

วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สัปดาห์ที่ 5

งานที่ได้รับมอบหมาย - คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ถอดเครื่องวัดฯ

- ตรวจสอบและเช็คหมายเลขเครื่องวัดฯ


ปัญหาและอุปสรรค์ ไม่พอปัญหาและอุปสรรค์ใดๆ

สัปดาห์ที่ 4

งานที่ได้รับมอบหมาย - คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ถอดเครื่องวัดฯ

- คีย์ข้อมูลสร้างคำสั่ง ใส่สาย

ปัญหาและอุปสรรค์ การคีย์ข้อมูลสร้างคำสั่งสาย เป็นการจ่ายงานช่างเพื่อทำการต่อไฟให้ลูกค้า และจำนวนช่างและผู้รับเหมามีจำนวนมาก และแบ่งออกเป็นหลายกลุ่ม เพราะฉะนั้นจึงต้องใช้ความระมัดระวังและตรวจสอบให้ดี

งานสัปดาห์ที่ 3

งานที่ได้รับมอบหมาย คือ - คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ถอดเครื่องวัดฯ

- สร้างงานบันทึกผลการติดตั้งเครื่องวัดฯ


ปัญหาและอุปสรรค ไม่พบปัญหาและอุปสรรคใดๆ

สัปดาห์ที่ 2

งานที่ได้รับมอบหมาย คือ - คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ใส่สาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ต่อกลับเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ปลดสาย
- คีย์ข้อมูลบันทึกคำสั่ง ถอดเครื่องวัดฯ
- คีย์ข้อมูลค้นหาสถานะการใช้ไฟปกติ และ การตัดไฟ ตามหมายเลขเครื่องวัดฯ


ปัญหาและอุปสรรค์ การคีย์ข้อมูลต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะ แต่ละหมายเลขเครื่องวัดฯที่คีย์ข้อมูล หมายถึง จำนวนเงิน 25 บาทต่อหมายเลขเครื่องวัดฯนั้น ถ้าเราคีย์ข้อมูลพลาด ก็หมายความว่า ช่างหรือผู้รับเหมาที่ไปทำการตัด-ต่อไฟ ก็จะไม่ได้รับเงิน จำนวนนั้นไปด้วย

สัปดาห์ที่ 1

แผนกที่ได้เข้าฝึกงาน คือ แผนกบริการเครื่องวัดฯ(บ.ค)
งานที่ได้รับมอบหมาย - งานปริ๊นสติ๊กเกอร์หมายเลขเครื่องวัดฯ
- เรียนรู้โปรแกรมเกี่ยวกับการไฟฟ้านครหลวง
- แยกเอกสารใบคำสั่งต่าง เช่น ใบคำสั่งขอใช้ไฟใหม่ ใขคำสั่งขอใช่ไฟเพิ่ม ใบคำสั่งขอใช้ไฟชั่วคราว ใบคำสั่งเปลี่ยนเครื่องวัดฯ เป็นต้น

ปัญหาและอุปสรรค งานปริ๊นสติ๊กเกอร์ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะถ้าเราใส่ตัวเลขเครื่องวัดฯผิด หรือ ตัวย่อประจำเขตต่างๆผิด ก็จะทำให้ช่างหรือผู้รับเหมาที่ทำการติด หรือ ตัด เครื่องวัดฯลูกนั้น ทำงานพลาดได้

วันศุกร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2551

ประวัติและคติความเชื่อถือเกี่ยวกับเรื่อง เทียน

ชาวพุทธที่นับถือพระพุทธศาสนา มีความเชื่อศรัทธาในพระรัตนตรัย ทำเทียนจากขี้ผึ้งกับพระพุทธศาสนานั้น มีมาตั้งแต่พุทธกาลจากนิทานชาดกในพระธรรมบทเรื่องวานรถวายรวงผึ้งแด่พระพุทธองค์ ทำให้วานร ได้รับผลานิสงส์มากไปเกิดในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ มีนางอัปสรเป็นบริวารนับพัน การให้แสงสว่างเป็นทานนับว่าเป็นประโยชน์มาก ทั้งการให้แสงสว่างเพื่อการมองเห็น และการให้แสงสว่างทางปัญญา มีเรื่องเล่าว่า
พระอนุรุทธะ พุทธสาวกเป็นผู้มีปัญญาอันเฉียบแหลม เฉลียวฉลาด รู้อรรถ รู้พระธรรมวินัยแตกฉาน จนเป็นเอตทัคคะทางจักขุทิพย์ ซึ่งเรื่องนี้พระพุทธองค์ตรัสว่าในชาติปางก่อนพระอนุรุทธะได้ให้แสงสว่างเป็นทาน จึงมีปัญญาเฉลียวฉลาด ดังนั้นความเชื่อในเรื่องถวายประทีป โคมไฟ และเทียนเพื่อให้แสงสว่างเพื่อสักการะแด่พระรัตนตรัย จึงได้ถือปฏิบัติสืบต่อกันมาตั้งแต่โบราณกาลแล้ว ในเดือนแปดเป็นงานบุญเข้าพรรษา ระหว่างที่พระสงฆ์จำพรรษาตลอดไตรมาส ชาวพุทธทั้งหลายจำเป็นที่จะต้องถวายความอุปถัมภ์แก่พระสงฆ์ด้วยจตุปัจจัยต่างๆ ที่จำเป็นอันควรแก่สมณะอุปโภค บริโภค สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้ก็คือการถวายธูปเทียนและน้ำมันเพื่อจุดให้แสงสว่าง และจุดบูชาพระรัตนตรัย เนื่องจากในอดีตแสงสว่างจากไฟฟ้ายังไม่ทั่วถึง การจุดไต้ (กระบอง) จุดตะเกียงจากน้ำมัน และจุดเทียน จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับพระสงฆ์ที่จะต้องใช้แสงสว่างเพื่อการศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินัย และเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัยในการประกอบศาสนกิจอีกด้วย ชาวพุทธไทยส่วนใหญ่ยึดถือเป็นประเพณี นำเทียนไปถวายพระรัตนตรัยในเทศกาลเข้าพรรษา ก็เพื่อปรารถนาให้ตนเองเป็นผู้มีปัญญาอันเฉลียวฉลาด มีไหวพริบประดุจแสงสว่างของดวงเทียน และ ส่วนหนึ่งยังมีความเชื่อถือในสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยโดยกำหนดให้เทียนที่ทำขึ้นมาเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตในเรื่องของความเป็นสิริมงคลในโอกาสประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เรียกว่า “ เทียนมงคล ”
จำแนกได้ตามลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
๑. การจำแนกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เทียนประเภทนี้ทำขึ้น เพื่อใช้ในพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ เช่น พิธีบายศรีสู่ขวัญ พิธีสะเดาะเคราะห์ จะทำขั้นตามขนาดความยาวส่วนต่าง ๆ ของร่างกายที่สำคัญคือ
๑.๑ เทียนเวียนหัว ใช้ความยาวขนาดรอบศีรษะ ๑.๒ เทียนค่าศอก ใช้ความยาวขนาดเท่าข้อศอก ๑.๓ เทียนค่าคึง ใช้ความยาวขนาดเท่ากับความยาวของลำตัว ซึ่งวัดจากใต้คางถึงสะดือ ๒. การจำแนกตามองค์ประกอบของชีวิตตามหลักพุทธศาสนา เทียนประเภทนี้ที่สำคัญมี ๒ อย่าง คือ ๒.๑ เทียนขันธ์ ๕ ถือว่าชีวิตประกอบด้วยสองส่วนประกอบที่สำคัญ ๕ ประการ เรียกว่า ขันธ์ ๕ ได้แก่ รูป เวทนา สัญญา สังขาร
และวิญญาณ เทียนขันธ์ ๕ นี้ไม่จำกัดขนาดและความยาว แล้วแต่ความเหมาะสม มีจำนวน ๕ คู่ หรือ ๑๐ เล่ม ๒.๒ เทียนขันธ์ ๘ ถือว่าเป็นความเชื่อตามหลักมรรคมีองค์ ๘ ขนาด และความยาวแล้วแต่ความเหมาะสมเช่นเดียวกับเทียนขันธ์ ๕
มีจำนวน ๘ คู่ หรือ ๑๖ เล่ม การใช้เทียนมงคลประเภทต่าง ๆ มักจะใช้คู่กับดอกไม้และธูปเสมอ ซึ่งมักมีจำนวนเท่า ๆ กับเทียนด้วย ๓. จำแนกตามลักษณะเฉพาะเทียนประเภทนี้แบ่งตามรูปลักษณ์ หรือโอกาสที่ใช้ งานมงคลที่สำคัญมี ๔ อย่างคือ ๓.๑ เทียนชัย มีขนาดและความยาวตามแต่จะกำหนดใช้ในพิธีสำคัญทางศาสนา เช่น พิธีสมโภชพระพุทธรูป หรือพิธีพุทธาภิเษก
เพื่อให้ผู้เป็นประธานจุด โดยทั่วไปจะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางตั้งแต่ ๑ นิ้วขึ้นไป
๓.๒ เทียนแพ นิยมใช้เทียนหลายเล่มมัดติดกันเป็นตับ และมีส่วนประกอบที่สำคัญคือธูประกำ ซองจะมัดรวมเป็นตับ เช่นเดียวกัน
ให้ธูประกำอยู่บนเทียน ใช้ในโอกาสพิธีสำคัญ ๆ เพื่อแสดงความเคารพ สักการะบูชาเถระผู้ใหญ่ เป็นต้น ไม่ใช้สำหรับจุดไฟ ๓.๓ พุ่มเทียน เป็นเทียนประดิษฐ์ มีลักษณะเป็นพุ่มนิยมใช้เทียนขนาดเล็กมามัดรวมกันทำเป็นพุ่ม ใช้ในพิธีทางศาสนา เช่น เทศ- กาลเข้าพรรษา หรือในพิธีอุปสมบท(บวชพระ) ๓.๔ ต้นเทียน เป็นเทียนที่ทำขึ้นขนาดใหญ่และยาวเป็นพิเศษกว่าเทียนชนิดอื่น ตามต้องการ นิยมจัดทำขึ้นในเทศกาลเข้าพรรษา
จัดว่าเป็น “เทียนมงคล” ด้วยเหมือนกัน สำหรับจัดไว้ในโบสถ์ตั้งแต่วันเข้าพรรษา จนถึงวันออกพรรษา
การจัดทำเทียนพรรษามีวัฒนาการมาเป็นลำดับจากการนำรังผึ้งมาต้มเอาขี้ผึ้งไปฟั่นเป็นเทียนเพื่อจุดบูชาพระรัตนตรัย และนำไปถวายพระสงฆ์ การนำเทียนเล่มเล็กๆหลายๆเล่มมามัดรวมกันเป็นลำต้นคล้ายต้นกล้าหรือลำไม้ไผ่แล้วนำไปติดตั้งกับฐาน การมัดรวมเทียนแบบนี้เป็นสาเหตุหนึ่งของการทำต้นเทียนและกลายเป็น “ต้นเทียนพรรษา” ในสมัยต่อมาเทียนพรรษานั้น ได้จำแนกออกเป็น ๒ ชนิด ได้แก่ ๑. เทียนพรรษาแบบจุดได้ สามารถให้แสงสว่างซึ่งมีขนาดและกำหนดเป็นมาตรฐาน ผิวเรียบและลวดลายที่เกิดจากพิมพ์ ไม่สามารถที่จะนำมาแกะได้ ๒. ส่วนเทียนพรรษาที่จัดทำขึ้นเอง เทียนประเภทนี้มีขี้ผึ้งผสมอยู่ ๖๐–๗๐%มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ประมาณ ๑๕, ๒๐, ๒๕, ๓๐ ซม. เทียนประเภทนี้ไม่มีไส้ ผู้ทำจะนำเอาไม้ หรือเหล็กมาทำเป็นแกน (เพื่อความแข็งของต้นเทียนที่จะนำมาแกะ)ก่อนเทเทียนห่อหุ้ม ผู้ทำจะนำเอาเชือกมาพันให้ตลอดแกน ก่อนจะนำเข้าพิมพ์หล่อ ก่อนนำเทียนมาหล่อห่อหุ้ม เมื่อแข็งตัวแล้วจึงนำแกะสลักตกแต่ง เทียนพรรษาชนิดนี้จุดไม่ได้ จัดทำเพื่อการประกวดความสวยงาม ถวายเป็นพุทธบูชาอย่างเดียวเท่านั้น
เทียนที่จะนำมาประกวด แบ่งออกเป็น ๓ ประเภทคือ ๑. ประเภทมัดรวมติดตาย ๒. ประเภทติดพิมพ์ ๓. ประเภทแกะสลัก ต้นเทียนทั้ง ๓ ประเภทนี้ มีประวัติความเป็นมา อาจแบ่งออกได้เป็น ๓ สมัย ดังนี้ สมัยแรก (พ.ศ. ๒๕๔๔–๒๕๗๙) การคิดทำต้นเทียนจะทำลักษณะง่าย ๆ โดยนำเทียนเล่มเล็ก ๆ มามัดรวมกันด้วยเชือก หรือป่าน และต่อเทียนที่มัดแล้วให้เป็นลำต้นสูงตามความต้องการ แล้วใช้กระดาษสีพันรอบ ๆ ก็ถือว่าสวยงามเพียงพอแล้ว เป็นการลงทุนที่ไม่มากนัก ต่อมามีการทำต้นเทียนให้ใหญ่โต และมีการใช้ทุนมากขึ้น จะทำโดยลำพังตนเองไม่ได้ จึงมีการรวมกลุ่มกันทำเป็นคุ้ม ๆ ไป ตามชื่อวัดในละแวกนั้นมาไม่ได้ขาด จนกระทั่งสมัยกลาง
สมัยกลาง (พ.ศ. ๒๔๘๐–๒๕๐๑) การจัดทำต้นเทียนได้ทำอย่างจริงจังใน พ.ศ. ๒๔๘๐ และได้วิวัฒนาการสลับซับซ้อนมากขึ้น มีการเปลี่ยนแปลงแตกต่างจากที่เคยทำมาอย่างมาก มีการพิมพ์ลายดอกผึ้งเป็นลายต่าง ๆ จากแบบพิมพ์ที่ทำขึ้น แบบพิมพ์จะแกะสลักจากต้นกล้วยบ้างและผลไม้บางชนิดบ้าง เช่น มะละกอ ฟักเขียว ฟักทอง มันเทศ เป็นต้น เมื่อทำแบบพิมพ์ลายต่าง ๆ เสร็จแล้ว จะนำไปจุ่มลงในน้ำขี้ผึ้งที่ต้มจนหลอมละลาย แล้วนำแบบพิมพ์ที่ขี้ผึ้งติดอยู่ ไปจุ่มในน้ำเย็นอีกครั้งหนึ่ง จะได้ลายดอกขี้ผึ้งตามแบบพิมพ์ลายดอกต่าง ๆ แล้วไปติดกับต้นเทียนที่หล่อไว้แล้ว ตลอดจนส่วนฐานและองค์ประกอบอื่น ๆ ให้มีลวดลายงามตามรูปแบบที่คิดไว้ วิธีการเช่นนี้นับว่าเป็นต้นแบบการจัดทำต้นเทียน “ประเภทติดพิมพ์" การพิมพ์ลายดอกลงในแบบพิมพ์ที่ทำจากผลไม้ หรือไม้เนื้ออ่อนทำให้เกิดความยุ่งยากและเสียเวลา ต่อมา “นายโพธิ์ ส่งศรี” ซึ่งเคยเป็นช่างออกแบบก่อสร้างมาก่อน จึงคิดวิธีแกะสลักลายแบบพิมพ์ ลงบนไม้สีดา (ต้นฝรั่ง) ซึ่งมีเนื้อไม้แข็งทนทาน ลายที่แกะสลักลงเป็นลายง่าย ๆ เช่น ลายประจำยาม กระจังตาอ้อย ใบเทศ บัวคว่ำ บัวหงาย ก้ามปู กรุยเชิง เป็นต้น วิธีทำลายดอกจะใช้ขี้ผึ้งที่หลอมละลายแล้วเทลงบนแบบพิมพ์ รอจนกว่าขี้ผึ้งที่หลอมละลายแล้วเทลงบนแบบพิมพ์ รอจนกว่าขี้ผึ้งเย็นจึงแกะออกจากแม่พิมพ์ แล้วนำไปติดต้นเทียน ซึ่งต้นเทียนประเภทติดพิมพ์ได้มีชื่อเสียงมากจนถึงปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๕
สมัยปัจจุบัน ได้มีการฟื้นฟูการทำเทียนพรรษา และการแห่เทียนพรรษา กำหนดให้มีการประกวดเทียน ๒ ประเภทคือ
ประเภทมัดรวมติดลาย และประเภทติดพิมพ์ สำหรับเทียนพรรษาที่ใหญ่ที่สุด เป็นประเภทติดพิมพ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง ๔๔ นิ้ว สูง ๔ เมตร ๙ นิ้ว น้ำหนัก ๒ ตันเศษ ตั้งอยู่ที่วัดท่าไม้ ต.ท่าไม้ อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร สามารถจุดได้ในเทศกาลสำคัญ ครั้งแรกจุดเฉลิมในพิธีกาญจนาภิเษกวันวิสาขบูชาที่ ๓๑ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๓๙ ถวายเป็นพุทธบูชา และถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสที่ทรงครองสิริราชสมบัติครบ ๕๐ ปี ในวันที่ ๙ มิถุนายน ศกเดียวกัน.

วันศุกร์ที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2551

เรื่องน่ารู้..ของ "คลีโอพัตรา" ไม่สวยอย่างที่ร่ำลือ-แต่ฉลาด



ลอเรนซ์ อัลม่า-ทาดีม่า วาดภาพคลีโอพัตราขณะทรงสำราญในเรือ
เรารู้จักชื่อ "คลีโอพัตราที่ 7" มานาน ในฐานะที่พระองค์เป็นฟาโรห์องค์สุดท้ายของอียิปต์โบราณ ทั้งยังเป็นยังสตรีที่มีความงามจนเป็นที่เลื่องลือ จนมีหนังสือ ละคร ภาพยนตร์ นำเรื่องของพระองค์มากล่าวถึงมากมาย
เรื่องราวของ "คลีโอพัตรา" มีความน่าสนใจมาก ไม่ว่าพระองค์ปลิดพระชนมชีพของตนเอง ด้วยการให้งูเห่าตัวเล็กกัด และที่จริงแล้ว พระองค์ไม่ใช่ชาวอียิปต์ แต่เป็นชาวมาซิโดเนีย
หลังจากที่ พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช ซึ่งเป็นชาวมาซิโดเนียเช่นกัน เข้าครอบครองอียิปต์ พอพระองค์สิ้นพระชนม์เมื่อ 323 ปี ก่อนคริสตกาล อำนาจการปกครองส่งต่อไปยัง "พโทเลมี" บุตรชายของ "ลากุส" ผู้สูงศักดิ์แห่งมาซิโดเนีย
ราชวงศ์พโทเลมี ยืนยาวถึง 300 ปี และสิ้นสุดที่พระนางคลีโอพัตรา โดยพระองค์เป็นพระธิดาของพระเจ้าพโทเลมีที่ 12 พระองค์จึงไม่มีสายเลือดอียิปต์เลยแม้แต่น้อย แต่พระนางเป็นฟาโรห์องค์แรกของราชวงศ์พโทเลมี ที่เรียนภาษาอียิปต์ หลังจากสิ้นพระชนม์ อียิปต์ กลายเป็นจังหวัดหนึ่งของอาณาจักรโรมัน
1 ภาพคลีโอพัตราและพระโอรสที่วิหารแห่งเดนเดร่า
2 ในงานเทศกาลเช็กสเปียร์ที่กำลังจัดขึ้นที่แคนาดา มี คริสโตเฟอร์ พลัมเมอร์ แสดงเป็นจูเลียส ซีซาร์ ส่วนนิกกี้ เอ็ม. เจมส์ แสดงเป็นคลีโอพัตรา
3 เรจินัล อาร์เธอร์ ศิลปิน จินตนาการภาพคลีโอพัตรา ขณะสิ้นพระชนม์
4 เหรียญรูปคลีโอพัตราที่ 7

นอกจากนี้ ยังมีข้อสันนิษฐานว่า พระนางคลีโอพัตรา ไม่ได้สวยงามอย่างคำร่ำลือ เพราะแต่ละยุค แต่ละสมัย คอนเซ็ปต์ของความสวยงามนั้นแตกต่างกัน
"พลูตาร์ช" กวีชาวกรีก เขียนถึงพระองค์ประมาณ 100 ปี หลังจากที่สิ้นพระชนม์เมื่อราว 30 ปี ก่อนคริสต กาลในหนังสือ "ไลฟ์ ออฟ แอนโทนี่" ซึ่งเล่าถึงเรื่องราว นายพลมาร์ก แอนโทนี่ แห่งอาณา จักรโรมัน ชู้รักของคลีโอพัตราไว้ว่า "พระองค์ไม่ได้มีลักษณะพิเศษที่ดึงดูดใจ"
จากหลักฐานรูปคลีโอพัตราบนเหรียญ 10 ที่เหลือรอดมาและอยู่ในสภาพค่อนข้างดี พบว่า พระองค์มีลำคออ้วนเป็นปล้อง หรือเรียกว่า "Rolls of Venus" มีจมูกงุ้ม หูยาว คางแหลม สูงประมาณ 150 เซนติเมตร หรือเท่าๆ กับหญิงในยุคพโทเลมิก
อย่างไรก็ตาม คลีโอพัตรามีสมองอันชาญฉลาด ซึ่งนี่อาจเป็น "ความสวย" ของพระองค์ ทรงพูดได้ถึง 9 ภาษา ได้รับการศึกษามาเป็นอย่างดี ทำให้ทรงมีบุคลิกที่งามสง่า มีความเป็นผู้นำสูง
พลูตาร์ช เขียนถึงความฉลาดเฉลียวของคลีโอพัตราไว้ว่า "พระองค์ทรงสนทนาด้วยพระสุรเสียงที่อ่อนหวาน ช่างจำ นรรจา ซึ่งการจำนรรจานั้นเต็มไปด้วยความฉลาดปราดเปรื่อง จนไม่มีผู้ใดโต้แย้งพระองค์ได้"
เพราะความปราดเปรื่องนี้เอง ทำให้กอง ทัพอียิปต์มีความเข้มแข็ง ในครั้งนั้น "นคร อเล็กซานเดรีย" เป็นเมืองหลวงของอียิปต์ และเป็นนครที่มีความทันสมัยมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก มีการแพทย์ที่ก้าวหน้า มีวิทยา การด้านชันสูตร มีห้องสมุดที่กว้างขวางใหญ่โต และมีประภาคาร จน "นครอเล็กซานเดรีย" ดึงดูดให้ศิลปิน ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรม นักปราชญ์ กวี จากทั่วโลกเข้ามาอยู่อาศัย
แม้พระองค์จะไม่สวยงามอย่างที่คิด แต่พระองค์ก็กำหัวใจของชายผู้มีอิทธิ พลมากที่สุดในสมัยนั้นถึง 2 คน คือ พระเจ้าจูเลียสซีซาร์ และ นายพลมาร์ก แอนโทนี่
ข้อสงสัยอีกอย่างในเรื่องราวชีวิตของพระนาง คือ พระองค์ไม่น่าสิ้นพระชนม์จากการถูกงูเห่าตัวเล็ก หรือ Asp กัด แต่น่าจะถูกงูเห่าตัวใหญ่หรือ Cobra กัดมากกว่า
กวีเอกเช็กสเปียร์ เล่าในเรื่องคลีโอพัตราและมาร์ก แอนโทนี่ ไว้ว่า คลีโอพัตราสิ้นพระชนม์เพราะถูกงูกัด งูนี้ถูกลักลอบนำมาไว้ในห้องพระบรรทม ในตะกร้าบรรจุผลมะเดื่อ แต่งูเห่าตัวเล็ก ไม่ได้มีถิ่นที่อยู่ในอียิปต์ งูที่กัดจึงน่าจะเป็นงูเห่าตัวใหญ่ พลูตาร์ช เขียนไว้ว่า "เมื่อเปิดประตูห้องพระบรรทมเข้าไป เหล่าทหารพบร่างของพระองค์นอนแข็งอยู่บนเตียงทอง ฉลองพระองค์และเครื่องประดับกระจุยกระจายออกไปนอกร่าง"
ปัจจุบัน เรายังไม่ทราบสาเหตุการสิ้นพระชนม์อย่างแน่ชัด เนื่องจากพระ เจ้านโปเลียนโบนาปาร์ตของฝรั่งเศส ปล้นทรัพย์สินจำนวนมากจากอียิปต์ รวมทั้งหีบใส่พระศพของพระนาง และทิ้งปริศนาไว้จนทุกวันนี้

ที่มาจาก www. yenta4.com